วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

                       การประเมินการใช้บล็อกนี้
                  ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1.นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร        
 ตอบ  ผมคิดว่าวิชานี้คงเป็นวิชาที่ทำให้เราได้รู้จักการใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นและสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้เมื่อเราจบหรืออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพและทำให้การส่งงานรวดเร็วทันสมัยรู้จักการสร้างบล็อกและวิธีการใช้สื่อการสอนต่างๆ
นี่แหละเป็นวิชาที่ทำให้ผมอยากที่จะเรียนมาก เเละอาจารย์ก็ได้สอนนวัตกรรมใหม่ๆให้แก่ผม สอนให้ผมรู้จักสอนอะไรที่ใหม่ๆให้กับเด็กๆในอนาคต แล้วผมคิดว่าหากอาจารย์ได้นำวิธีการสอนแบบนี้ไปใช้กับทุกวิชาที่อาจารย์สอนผมคิดว่าคงทำให้นักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์คงมีความคิดที่ดีไม่ต่างไปจากผม ผมขอขอบคุณอาจารย์ที่สอนอะไรใหม่ๆให้แก่ผม ผมจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะครับ
2.นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ตอบ จากการได้สร้างบล็อกในรายวิชาการบริหารการจัดการในชั้นเรียนนี้ทำให้กระผมได้รู้อะไรหลายๆอย่าง เช่นวิธีการตกแต่งบล็อก วิธีการสร้างภาพสไลด์โชว์ และวิธีการนำเสนองานได้ที่หลากหลาย ทำแล้วออกมาสวยงาม น่าสนใจนี้คือเป็นฝึกความพยายาม ความอดทนและความตั้งใจในการทำบล็อกให้ออกมาสวยงามและน่าสนใจที่ให้ประโยชน์กับตนเองมากที่สุด
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
            ตอบ มากเลยที่เดียวครับ   ในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
    1.การนำWeblogนี้มาใช้ทำให้การเรียนนั้นแตกต่างไปจากการเรียนแบบปกติ ผู้เรียนมีความตื่นเต้นและน่าสนใจ อยากจะเรียนในวิชานี้มากยิ่งขึ้น                
    2.เป็นความรู้ใหม่ที่จะทำให้นักศึกษาได้เอาไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต
    
3.นักศึกษาได้รู้จักนวัตกรรมใหม่เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในวิชาชีพของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถและยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆมากยิ่งขึ้น                 
                 4.Weblog เป็นช่องทางใหม่ในการแสดงความสามรถแสดงความคิดเห็  และผลงานทางความคิดให้ผู้สนใจหรือบุคคลอื่นได้เข้ามาศึกษาหาความรู้และเป็นการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์
                
5.การนำมาใช้กับการเรียนที่ให้นักศึกษาได้ฝึกความพยายาม ความอดทนและความตั้งใจในการทำบล็อคให้ออกมาสวยงามและน่าสนใจ             
     6.เมื่อเรียนวิชานี้แล้ว ยังได้มีผลงานเอาไว้เป็นความภาคภูมิใจในการเรียนว่าเรานั้นได้มีผลงานที่ดี ได้แสดงผลงานออกสู่เครือข่ายการศึกษาไร้พรหมแดน              
      7.เพิ่มความรู้ความสามารถใหม่ในการเรียนรุ้             
      8.สามารถนำความรู้เรื่องการใช้Weblogไปสอนให้แก่ผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้                 
       9.Weblogตัวแลกเปลี่ยนความรู้นอกห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพและยังเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่ไม่มีที่สิ้นสุด               
       10.การเรียนการสอบแบบนี้จะทำให้การศึกษาของประเทศไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศอย่างมาก

4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
ตอบ สำหรับผม ประเมินความพึ่งพอใจมากที่สุดครับในการเรียนรายวิชาการบริหารการจัดการในชั้นเรียน กับอาจารย์ อภิชาติ วัชรพันธุ์

การสอบครั้งที่๒

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management
จากความเข้าใจ  คือ การจัดการกับห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพที่สุดที่ใช้ในการเรียนการสอนซึ่งต้องอาศัยทั้งทางด้านผู้สอนและผู้เรียนที่ที่ต้องร่วมมือกันโดยจะมีครูเป็นแกนนำและคอยชี้แนะนักเรียนรวมไปถึงการต้องมีกระบวนการในการปรับปรุงห้องเรียน จัดภูมิทัศน์ของโรงเรียน  ให้มีลักษณะของห้องเรียนที่ดี  จนทำให้นักเรียนมีความร่วมมือด้วยและครูมีหน้าที่สำคัญในการจัดการชั้นเรียนคือ  การจัดการเรียนสอนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด  ให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา  นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนได้  โดยอาจจะมีการให้คำชมเชยหรือให้รางวัลดังนั้นการจัดการชั้นเรียนที่ดีครูควรมีการจัดระบบ วางแผนและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. Happiness Classroom
คือการจัดห้องเรียนให้มีความสุข โดยครูกับนักเรียนต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดผลดีต่อผู้เรียนและผู้สอนแล้วก็ร่วมไปถึงเด็กกับครูก็จะมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญเช่นเดียวกัน
3. Life-long Education
 คือการจัดการศึกษาทางไกลซึ่งเป็นวิธีการจัดการศึกษาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของทุกคน การพัฒนาโครงสร้างทางวิชาการของการศึกษาทางไกล จึงจำเป็นที่ต้องให้โอกาสการเรียนรู้และให้ประสบการณ์แก่ทุกคนตามความสนใจและความถนัด โดยสะดวกและต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งนี้โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสม
4. formal Education
คือการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัด และการประเมินผล
5. non-formal education
คือการศึกษานอกระบบหรือ Non-formal Education (NFE) ซึ่งได้นิยามการศึกษานอกระบบ คือ การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
6. E-learning
คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซเรย์ หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ
7. Graded
คือ การ เรียนระดับชั้น ก็คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8. Policy education
คือ นโยบายการศึกษา
9. Vision
คือ ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด
10. Mission
คือ พันธ์กิจมีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธานพันธ์กิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้น มาหรือดำรงอยู่เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals
เป้าหมาย คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ
12. Objective
หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงทีเราต้องการจะไปหรือเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13. backward design
คือ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการ พัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูพันธ์ใหม่หรือมืออาชีพเพื่อ เรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกันครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อ เนื่องแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือ ปฏิบัติแล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. Effectiveness
คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
15. Efficiency
คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิผล
16. Economy
คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค ซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่าง จากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้าง ดังนี้
                1.   การผลิต คือ การกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ หากการกระทำใด ซึ่งผลของการกระทำแม้จะมีคุณค่ามีประโยชน์แต่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ การกระทำนั้นในความหมายทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นการผลิต และผลของการกระทำก็ไม่เรียกผลผลิต อาจจะเรียกเป็นผลงาน
                2.  การจำหน่าย คือ การนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการ
3.  การบริโภค คือ การจับจ่ายใช้สอยรวมถึงการรับประทานด้วย
17. Equity
คือความเสมอภาคมีหลักความเสมอภาคอาจ แยกได้2 ประเภท ดังนี้คือ
1. หลักความเสมอภาคทั่วไป
หลักความเสมอภาค ทั่วไปเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนที่อาจกล่าวอ้างกับการกระทำใด ๆ ของรัฐได้ เช่น ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 ว่า "บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน"
2. หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง
หลักความเสมอภาค เฉพาะเรื่อง คือ หลักความเสมอภาคที่ใช้เฉพาะภายในขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชายและหญิง ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนั้นยังปรากฏในมาตรา 54 "บุคคลอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ"
พัฒนาการแนวคิด เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและความเสมอในด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญไทย

18. Empowerment
คือการสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้ กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจเพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถี ชีวิตวิถีการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืนในที่สุด
19. Engagement
การทำให้ พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับ องค์กรด้วยคือไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กรรู้สึกดีกับองค์กรก็เลยไม่อยากไปไหนแต่ก็ไม่สามารถสร้าง ผลงานใดๆที่ดีขึ้นด้วย
20. Project
โครงการคือกิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่สามารถทำการวิเคราะห์
21. Activies
คือการกระตือรือร้นในการทำให้ตัวเองดูดี และการกระทำที่ตัวเองมีความรู้สึกว่า สดชื่นและ มี ชีวิตชีวา
22. Leadership
คือ ความสามารถในการเป็นผู้นำ
23. Leaders
คือ ผู้นำในการบริหารการจัดการชั้นเรียน
24. Follows
คือ ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม,  เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations
คือสถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับมนุษย์ที่ต้องการความสะดวกสบายในการดำเดินชีวิตประจำวัน
26. Self awareness
คือ การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication
คือ การสื่อสาร (Communication) เป็น กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
28. Assertiveness
คือพฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์เชิงบวกเพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตนหากเขาไม่เห็นด้วย
29. Time management
คือ การบริหารเวลาในการประกอบการต่างๆ
30. POSDC0RB
คือ หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่  7 ประการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การบรรจุ การสั่งการ การประสานงาน การรายงานและการงบประมาณ
31. Formal Leaders
 การพูดอย่างเป็นทางการได้แก่การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตองเป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ และเพื่อจุดมุ่งหมายต่างกันเป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ศิลปะในการพูดและบุคลิกภาพในการพูดซึงสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี ภาษาต้องสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
32. Informal Leaders
คือ ผู้นำที่ไม่ใช้ผู้บังคับบันชาเช่นผู้นำของชลเผ่า
33. Environment
คือ ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม
34. Globalization
คือ โลกาภิสวัตถ์  การแพร่หลายไปทั่วโลก
33. Competency
คือความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม
34. Organization Cultural
คือค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้แนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น
35. Individual Behavior
คือวัฒนธรรมองค์กรพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยกันเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตนดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
36. Group Behavior
การอยู่ร่วมกัน ในกลุ่ม เป็นพวก เป็นหมู่ เป็นต้น
37. Organization Behavior
คือ พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior) เป็น รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working
คือ กลุ่มคนทำงานหรือเล่นกีฬาในกลุ่มเดียวกัน[กำลังการ]เป็นผลสำเร็จ
39. Six Thinking Hats
    Six Thinking Hats หมายถึง หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้
           1.สีขาว(Information) หมวกใบนี้จะหมายถึง ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งๆนั้น
           2.สีแดง(Feelings) หมวกใบนี้จะหมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งๆนั้น
3.สีเขียว(Creativity) หมวกใบนี้จะหมายถึง ความคิดสร้างสรรค์
4.สีเหลือง(Benefits) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองโลกในแง่ดี
5.สีดำ (Judgment) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองตรงกันข้าม
6.สีน้ำเงิน(Thinking about thinking) หมวกใบนี้จะหมายถึง การจัดการความคิดทั้งหมด

40. Classroom Action Research
คือ การวิจัยอากัปกิริยาห้องเรียน

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อสอบ

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1. Classroom management นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบ การบริหารการจัดการในชั้นเรียนในความเข้าใจของกระผม คือครูจะต้องจัดสภาพของห้องเรียนนั้นให้มีประสิทธิภาพ ให้มีบรรยากาศ น่าเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียน และครูจะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความเมตตากรุณาและเป็นมิตรกับนักเรียน และที่สำคัญการบริหารการจัดการในชั้นเรียนครูควรให้ความสนใจแก่เด็กนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และควรจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของตัวผู้เรียน

2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มีข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้มาตรฐานการปฏิบัติงาน คือ เป็นผลการปฏิบัติงานในระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่น่าพอใจ หรืออยู่ในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทำได้
 การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน จะเป็นลักษณะข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในงานที่ต้องปฏิบัติ โดยจะมีกรอบในการพิจารณากำหนดมาตรฐานหลายๆ ด้านด้วยกัน อาทิ ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ ด้านระยะเวลา ด้านค่าใช้จ่าย หรือพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องมาจากมาตรฐานของงานบางประเภทจะออกมาในรูปของปริมาณ ในขณะที่บางประเภทอาจออกมาในรูปแบบของคุณภาพองค์การจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงานประเภทนั้นๆมาตรฐานการปฏิบัติตน หรือ จรรยาบรรณของวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์) ประกอบด้วย
1. จรรยาบรรณต่อ
2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
5. จรรยาบรรณต่อสังคม

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
ตอบ คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ศักยภาพที่ดีและเป็นที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ มากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ
4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา (1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ตอบ ช่วยกันจัดหรือปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนให้มีความน่าอยู่มากขึ้น เช่นควรที่จะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อที่จะดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจในการเรียน  และที่สำคัญอากาศบริเวณโรงเรียนก็จะต้องมีความสดชื่นสะดวกสบาย ส่วนในด้านความปลอดภัยคือจัดให้มีผู้รับผิดชอบในด้านอาคารและสถานที่เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารและสถานที่อย่างเหมาะสมด้วย

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ตอบ คุณภาพผู้เรียนตามทัศนะคติของกระผม ในฐานะอนาคตจะเป็นครูภาษาไทย คำว่าคุณภาพผู้เรียนตามความเข้าใจของกระผม คือ การกำหนดจุดเน้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลาง การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และมีคุณลักษณะนิสัยตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ได้แก่ ใฝ่ดี ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน การนำจุดเน้นดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ ต้องมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียน โรงเรียนต้องมีการจัดโครงสร้างเวลาเรียนที่ชัดเจน จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เน้นการปฏิบัติไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของเวลาเรียน และมีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย การแสวงหาความร่วมมือกับชุมชนและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น มาร่วมในการจัดการเรียนรู้
6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนนั้นในแต่ละเดือนจัดให้มีการอบรมด้านจริยธรรมและคุณธรรมให้แก่ผู้เรียน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้ มีศีลธรรม จริยธรรมมีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

กิจกรรมที่14

การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด และวิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบ กับ โครงงานแตกต่างกันอย่างไร   
แผนที่ความคิด (Mind mapping)
เป็นการนำเสนอทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และการใช้ (Mind mapping) ก็จะช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ และไม่ขาดหายไป
วิธีการเขียนแผนที่ความคิด
 แผนที่ความคิด พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ เป็นต้น
แผนที่ความคิดใช้ได้กับอะไรบ้าง
แผนที่ความคิด (Mind Mapping) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ

วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร   
             เทคนิคการคิดแบบ six thinking hats จะเป็นการรวมความคิดด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน  ทำให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
ส่วนวิธีการสอนแบบโครงงาน
เป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา
สรุปได้ว่า
วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือแบบหมวก6ใบนั้นเป็นสอนการคิดอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนในการคิดอย่างสร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
            ส่วนวิธีการสอนแบบโครงงานหรือโครงการนั้นสามารถสอนให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษาเป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13

The Healthy Classroom : -----------โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์ แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
       ในวันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทำให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่องความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทำลายสิ่งของ

                                                                            


คำตอบที่ข้าพเจ้าได้คิดวิเคราะห์ในประเด็น ดังต่อไปนี้
        
1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
            ตอบ ไม่เหมาะสม เพราะ ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) เนี้ย บางคนก็เรียนหนักมากจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ไม่ออกกำลังกาย ไม่เล่นกีฬา เอาแต่อ่านหนังสือและการเข้านอนก็เป็นสิ่งสำคัญควรจะรักษาเวลาในการเข้านอนหรือนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและอีกอย่างคือการบริโภคก็ควรที่จะควบคุมกินอาหารให้ครบห้าหมู่ทุกวันลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์
        2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม
              ตอบ เด็กไทยและผู้ใหญ่ในปัจจุบันไม่ค่อยสนใจในการออกกำลังกายและไม่ค่อยเล่นกีฬาสักเท่าไรนัก เด็กเรียนเสร็จก็จะไปเทียว ส่วนผู้ใหญ่ก็ทำงานจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย การวานแผนในการออกกำลังในทุกวันก็ไม่ค่อยมีสักเท่าไรนัก และเวลาไปพบแพทย์ แพทย์มักจะถามเรื่องของโรคประจำตัวโดยไม่ถามถึงกีฬาประจำตัวเพราะคนที่มีโรคประจำตัวมักไม่ค่อยออกกำลังกาย ส่วนคนที่ออกกำลังเสมอโรคมักไม่ค่อยมี

        3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
          ตอบ มี แต่ส่วนน้อย ก็เพราะอารมณ์ของเราแต่ละคนไม่สามารถบังคับกันได้ มันเป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขันที่ต้องมีแพ้ ชนะ ส่วนที่แพ้ก็จะปลอบใจตัวเองด้วยการร้องไห้ ส่วนคนที่ชนะก็จะให้กำลังใจตัวเองและอาจจะร้องไห้ออกมาด้วยความยิ่งดี
       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง) 

         ตอบ มีการส่งเสริม จะเห็นจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็จะมีกิจกรรมให้นักเรียนได้เล่นและได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นการส่งเสริมให้เด็กเก่งวิชาการควบคู่กับมีสุขภาวะที่แข็งแรง

       5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด) 

          ตอบ มากในการทำความรู้จักกับนักเรียน แต่ ส่วนน้อยในการจะจำแนกเด็กนักเรียนออกเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติ เพราะครูประจำชั้นไม่ค่อยจะถามในประเด็นนี้สักเท่าไร เช่นประเด็นในเรื่องของสุขภาพและเรื่องการเรียนของเด็กว่าเด็กมีผลการเรียนที่ผ่านมาเป็นเช่นไร เด็กมีปัญหาทางบ้านไหม? นี้เเหละคือสิ่งสำคัญที่ครูในอนาคตต้องทำความเข้าใจกับเด็กให้มาก ควรจะดูแลเอาใจใส่เด็กให้มากกว่านี้และเข้าหานักเรียนเด็กจะได้รู้สึกผูกพันกับครู

       6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)

          ตอบ อาจจะมีแต่ไม่มากนักเพราะโรงเรียนส่วนใหญ่เน้นที่วิชาการ เด็กที่มีกลุ่มเสี่ยงก็จะจัดให้อยู่ในห้องเดียวกัน เพื่อสะดวกในการดูแลปกครองเด็กโดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่ตามมา ทำให้เด็กกลุ่มเสี่ยงมีความรู้สึกว่าตัวที่มีปัญหาอยู่แล้วกลับเพิ่มปัญหาอีก


       7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชาการควบคุมอารมณ์”)
          ตอบ
ควรจะมีการจัดรายวิชาเลือกให้เด็กได้ควบคุมอารมณ์ และให้เด็กได้เลือกรายวิชาที่ตนเองถนัดเด็กจะได้มีความสุขในการเรียนมากขึ้น


       8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
          ตอบ
ส่วนน้อย เพราะปัจจุบันนี้ครูส่วนใหญ่จะเน้นที่วิชาการมากกว่าโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพจิตของเด็กว่าเด็กรู้สึกอย่างไรกับการเรียนที่เน้นแต่วิชาการ

       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
         
ตอบ มีแต่ไม่ทั่วถึงและแบบประเมินรายละเอียดครูควรศึกษาจากพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียนก่อนเลยอันดับแรก

       
        การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting (2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ (Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกาตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน