วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

ทฤษฏีและหลักการบริหารการจัดการ
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฏีใครบ้าง
1.1 ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
                1.2 ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
                1.3 อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
                1.4 เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน


2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
สามารถนำไปใช้ในด้านการพัฒนาของมนุษย์  ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในด้านการเรียน การร่วมกัน การเข้าใจในสังคม และ การมีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เช่น การพัฒนาการคิดให้มีระบบโดยที่สามารถใช้ได้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ดังนั้นผู้เรียนสำคัญที่สุด จัดการเรียนรู้ให้หลากหลายวิธี ตามศักยภาพของผู้เรียน ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ สังคม จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขในสังคมได้
                                                                                                 เอกสารอ้างอิง

กิติมา ปรีดีดิลก. ทฤษฎีบริหารองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธนะการพิมพ์, 2529.
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์. ทฤษฎีการบริหารและการจัดองค์การ. สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2531.
 ที่มา  http://www.kru-itth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=420816&Ntype=6

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่1

ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1.นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ การบริหารการศึกษาเป็นกิจกรรมหรือเป็นศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้รับการ    กระทำจนเป็นผลสำเร็จ และเป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารการศึกษา หมายถึง เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้
2.นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์ และ ศิลป์ ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ศาสตร์คือ ระบบวิชาความรู้”คือแนวคิดดีๆ คติประจำใจ ศาสตร์สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านทางตำราคำพูด ส่วนศิลป์ ในที่นี้หมายถึง การลงมือปฏิบัติ ลงมือทำด้วยความชำนาญ ศาสตร์ และ ศิลป์ เป็นเรื่องของหัวคิดสมองความก้าวหน้า การไม่ยึดติด เช่น ศิลปะทางด้านการวาดภาพ การร่ายรำ เป็นต้น
3.นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อๆพอสังเขป
ตอบ วิวัฒนาการของการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษามี 4ยุค คือยุคที่ 1วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ ยุคที่ 2วิวัฒนาการของการบริหารยุคClassical เป็นยุคการบริหารที่มีหลักเกณฑ์อยู่ระหว่างปี ค..1880-1930 ยุคที่ 3วิวัฒนาการของการบริหาร ยุคมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation) เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค..1974 มาจนถึง ค..1950พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayoเป็นบุคคลแรกที่มาให้แนวความคิดทางการบริหาร เปลี่ยนแปลงไปมนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริงและจะเน้นการจูงใจ ยุคที่4ยุคBehavioral Organization หรือ ยุคพฤติกรรมศาสตร์เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่2เริ่มปี1958-ปัจจุบัน(10ปีหลังสงครามโลกครั้งที่2)เป็นการผนวกความสำคัญของคนกับระบบเข้าด้วยกันคือเป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์ เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (ChesterIBarnard)ชาวอเมริกาซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์เชื่อว่าองค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ บาร์นาร์ดชื่อว่าการโน้มน้าวใจมี2ลักษณะเฉพาะเจาะจงคือเรื่องของแรงจูงใจด้านวัตถุ และ ลักษณะทั่วไป
4.ทฤษฎีอธิบายมนุษย์สัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฎีการเสริมแรงของ สกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย3ประการได้แก่มนุษย์จะพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงาน­องตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสม นั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือการให้รางวัลจากการสามารถจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง3ประการได้แก่ Id Ego และSuperego
5.นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ ทฤษฎีมาสโลว์ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์(Maslow-Hierarchy Of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ-นับถือ และประการสุดท้ายคือการบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากกการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองความลำดับขั้นๆ
ทฤษฎีภาวะผู้นำ สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่าการเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูลหรือบุคคลและสืบชื้อสายกันได้บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย
ทฤษฎีX (The Traditional view Of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดจากพื้นฐานของคนไม่อยากทำงาน หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบและคนมักโง่ หลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้คือการบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงินวัตถุเป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสิ่งการ เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด


ทฤษฎีY (The Integration Of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีนี้เกิดจากพื้นฐานของคนมองโลกในแง่ดี มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มที่ เต็มใจกับการทำงานมีการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน มีความคิดสร้างสรรค์และคนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน พัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอมีความคิดริเริ่มในการทำงานถ้าได้รับการจูงใจในการปฏิบัติงาน ส่วนผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้นต้องให้เกียรติซึ้งกันและกัน