วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

                     เรื่อง 
          วัฒนธรรมองค์การ
     (Organization Culture)
ให้นักศึกษา 
                 สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
            วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งสร้างขึ้นในองค์การ ซึ่งมีทั้งสิ่งที่แสดงออกอย่างชัดแจ้ง สามารถจับต้องได้ และสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในวัฒนธรรมเป็นระบบคุณค่า และความเชื่อร่วมกันขององค์การ ซึ่งจะกำหนดพฤติกรรมของสมาชิก ทั้งในเรื่องการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมขององค์การและกระบวนการในการทำงาน องค์การทุกองค์การจะสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมของตนเอง และแสดงถึงวัฒนธรรมผ่านการทำงาน การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในองค์การ ตลอดจนผ่านโครงสร้างองค์การ การออกแบบและจัดสำนักงานขององค์การ
วัฒนธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทัศนคติและประสิทธิผลโดยรวมของพนักงาน นอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมก็มีอิทธิพลหรือมีอำนาจเหนือองค์การ ไม่ว่าวัฒนธรรมองค์การนั้นจะอ่อนหรือแข้งแกร่งสักปานใดก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างภายในองค์การนับตั้งแต่การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง การตัดสินใน ตลอดจนการแต่งกาย การกีฬา การทำงาน เป็นต้น
            ดังนั้นผู้บริหารที่ฉลาดจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมองค์การ ตลอดจนต้องเรียนรู้ถึงบทเรียนเก่าๆของวัฒนธรรมองค์การว่า มีการผูกมัดคนไว้ด้วยกันอย่างไร ซึ่งจะมีผลสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การและรักษาคุณสมบัติที่ดีขององค์การไว้ได้นานตลอดไป
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
วัฒนธรรมองค์การจะถูกหยั่งรากลึกในอดีตแต่จะจะถูกกระทบจากปัจจุบันและความคาดหวังในอนาคตแนวความคิดของวัฒนธรรมองค์การจะมีรากฐานมาจากมานุษวิทยา วัฒนธรรม วัฒนธรรมองค์การจะเป็นการสะสมของความเชื่อ ค่านิยม งานพิธี  เรื่องราว  ตำนาน และภาษาพิเศษ ที่กระตุ้นความรู้สึกความผูกพันภายในบรรดาสมาชิกขององค์การ บุคคลบางคนจะเรียกวัฒนธรรมองค์การว่าเป็น ก้าวทางสังคม ที่ผูกสมาชิกขององค์การเข้าด้วยกัน
            มาร์วิน โบเวอร์ กรรมการผู้จัดการของแมคคินซีย์ คอมพานีได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมองค์การว่าเป็น วิถีทางที่เรากระทำสิ่งต่างๆ อยู่ ณ ที่นี่ ประสิทธิภาพขององค์การจะได้รับอิทธิพลอย่างมากวัฒนธรรมองค์การที่กระทบต่อวิถีทางที่หน้าที่ การบริหารจะถูกปฏิบัติ การเป็นผู้นำทางการบริหารจะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากวัฒนธรรมองค์การ
 แนวทางพัฒนาองค์การ
วัฒนธรรมองค์การจะถูกพัฒนาขึ้นมาจากหลายแหล่ง เมื่อองค์การใหม่ถูกก่อตั้งขึ้นมา วัฒนธรรมมักจะถูกพัฒนาขึ้นมาที่สะท้อนให้เห็นถึงแรงจูงใจและจินตนาการของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ก่อตั้งมักจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อวัฒนธรรมที่ถูกพัฒนาขึ้น ตัวอย่างเช่น เรย์ ครอค ผู้ก่อตั้งแมคดดนัลด์ ได้ปลูกฝังค่านิยมร่วม คุณภาพ บริการ ความสะอาด และคุณค่า กับพนักงานแมคดดนัลด์ทุกคนไว้อย่างเข้มแข็งที่ยังคงเป็นความเชื่อของบริษัทอยู่ในปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมองค์การได้กลายเป็นคำที่นิยมแพร่หลายของการบริหารในปัจจุบัน เอ็ดการ์ ไชน์ นักวิชาการและที่ปรึกษาได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมองค์การว่า เป็นระบบความเชื่อและค่านิยมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาภายในองค์การและนำทางพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ วัฒนธรรมองค์การจะให้ความหมายและทิศทางที่สำคัญแก่พฤติกรรมประจำวันของสมาชิกภายในองค์การ และเป็นพลังเบื้องหลังที่จะกำหนดพฤติกรรม เสริมแรงความเชื่อร่วมกัน และกระตุ้นให้สมาชิกใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
คำว่า กลยุทธ์ หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์การไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวที่องค์การใด ๆ ก็สามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างวัฒนธรรมองค์การจะต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าองค์การของท่านมีลักษณะอย่างไรและวัฒนธรรมแบบใดที่องค์การต้องการ เพื่อจะได้นำมาออกแบบกลยุทธ์สำหรับสร้างวัฒนธรรมองค์การให้เหมาะสมต่อไป

  แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
คือการนำไปใช้สู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เช่นในที่นี้หลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะพบว่าในการดำเนินงานก็สามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติที่มีความสำคัญมากๆ   กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ หรือ การออกกฎระเบียบ เพื่อจะใช้ในการบังคับพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับมากกว่า ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นนั้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาอันสั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุมแล้ว ก็จะเห็นการในประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ของธรรมชาติ
      อ้างอิง  http://www.expert2you.com/view_question2.php?
           http://www.bangkaew.com/wai/article.php?

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่7

สรุปการจัดชั้นเรียนที่ดี
ความหมายของการจัดการในชั้นเรียน
          การจัดการชั้นเรียนในความหมายโดยทั่วไปคือ การจัดสภาพของห้องเรียน ที่ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าเป็นการจัดตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุหรือทางกายภาพ ให้มีบรรยากาศ น่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนเท่านั้น ดังนั้นสรุปได้ว่า การจัดการชั้นเรียน เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
ความสำคัญของการจัดชั้นเรียน
          กล่าวคือการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
การจัดการการเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
บรรยากาศการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้แก่นักเรียนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ทั้งกายภาพได้แก่ การตกแต่งห้องเรียน การจัดโต๊ะเรียน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การร่วมกันสร้างกฎกติกาของการเรียนรู้ในชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนให้บรรลุเป้าหมาย
        ครูจะต้องดำเนินงานในสิ่งต่อไปนี้
    1.
การจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆในชั้นเรียน
    2.
การกำหนดลักษณะการเคลื่อนไหวของนักเรียนในชั้นเรียน
    3.
การกำหนดกฎระเบียบในชั้นเรียน
    4.
การเริ่มและการสิ้นสุดการสอนด้วยความราบรื่น
    5.
การจัดการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนกิจกรรมในระหว่างชั่วโมงเรียน
    6.
การจัดการเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของนักเรียน เริ่มจากการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียน และขจัดอุปสรรคหรือสิ่งที่จะรบกวนให้น้อยที่สุด
    7.
การดำเนินงานให้การเรียนรู้เป็นไปในทางที่ครูได้กำหนดหรือวางแผนไว้
    8.
การดำเนินการเพื่อให้นักเรียนพัฒนาตามความต้องการของนักเรียนแต่ละคน
งานในหน้าที่ครูด้านการจัดการเรียนเพื่อสร้างบรรยากาการเรียนรู้ เป็นงานที่ครูมีภารกิจสำคัญพอๆกับการจัดการเรียนรู้
ปัจจัยเงื่อนไขของความสำเร็จในการจัดชั้นเรียน
    1. การจัดที่นั่งของนักเรียนในชั้นเรียนเป็นอย่างไร
    2.
ปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน หรือนักเรียนกับนักเรียนเป็นอย่างไร
    3.
การเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องของสมาชิกในชั้นเรียนจะทำได้ในกรณีใด
    4.
การรับรู้ถึงบรรณยากาศและระเบียบวินัยในภาพรวมเป็นอย่างไร
ลักษณะของการจัดการชั้นเรียนทางกายภาพที่ดี
     - มีการจัดที่นั่งในชั้นเรียนอย่างชัดเจน เพื่อใช้อเนกประสงค์และเพื่อให้นักเรียนมั่นใจในการใช้พื้นที่ว่างของตน ตัวอย่างเช่น บริเวณที่มีการใช้วัสดุร่วมกัน ที่ว่างส่วนตัวจะทำงานโดยลำพัง เช่น โต๊ะแถวของนักเรียนแต่ละคน
     -
ในชั้นเรียนที่มีนักเรียนมีปัญหาทั้งด้านการเรียนและด้านพฤติกรรม อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการแยกออกมาเพื่อให้นักเรียนสะดวก มีสมาธิในการทำงานตามลำพัง
มีทีว่างส่วนตัวของแต่ละคน และมีพื้นที่ส่วนบุคคลของนักเรียนทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ มีที่ว่างสำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ
   -
ลักษณะที่นั่งเป็นแถว เพื่อสะดวกในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาการ
   -
การที่นั่งลักษณะเป็นกลุ่ม จะทำให้นักเรียนมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม
   -
การจัดชั้นเรียนในบริเวณจำกัด และมีการใช้อย่างหนาแน่น ช่น บริเวณที่เหล่าดินสอ ที่วางถังขยะหลังห้อง ตลอดส่วนที่จะทำให้นักเรียนถูกรบกวนโดยง่าย ครูควรจัดให้นักเรียนนั่งห่างออกไป
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดที่นั่งของนักเรียนและครู
   - การจัดที่นั่งของนักเรียน
สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องคำนึงถึง คือ การเลือกรูปแบบการจัดโต๊ะนักเรียนให้เหมาะสมกับวิธีการสอนของครู และการจัดที่ว่างสำหรับการเคลื่อนที่ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม ถ้าชั้นเรียนใดมีผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมด้วยครูควรพิจารณาจัดที่นั่งสำหรับผ้เรียนาเหล่านี้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน เช่น ผู้เรียนทีมีปัญหาสายตา
   -
การจัดที่นั่งสำหรับครู
การจัดโต๊ะและที่นั่งของครูถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดบรรยากาสในชั้นเรียน
กล่าวโดยสรุป การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนการสอนและเกิดความศรัทธาในครูผู้สอน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา โดยปรับบุคลิกภาพความเป็นครูให้เหมาะสมปรับ

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่6

สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ
           ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ดี มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตาม จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้นเป็นมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ก็เพราะว่าเพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ  และอีกอย่างจะแสดงให้เห็นว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้นมีความสำคัญ นอกจากนั้นก็จะมีคณะกรรมการวิชาชีพทางการศึกษาในแต่ละเขต แต่ละท้องที่ และแต่ละรัฐ เพื่อความพยายามให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถึงมาตรฐานขั้นต่ำของวิชาชีพ เป็นต้น ส่วนมาตรฐานวิชาชีพการศึกษาของประเทศไทย ก็ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยคุรุสภา ซึ่งการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวได้ผ่านการศึกษาค้นคว้าทั้งในรูปของการวิจัย และใช้ประโยชน์ผลการวิจัย การศึกษาเอกสารการประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และอื่นๆ เพื่อประมวลข้อมูลมากำหนดเป็น มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเช่นนี้เป็นต้น
ส่วนมาตรฐานวิชาชีพ
กำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีเพียงพอที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือการแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ซึ่งผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาต้องให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา รวมทั้งต้องฝึกฝนให้มีทักษะหรือความเชี่ยวชาญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายความว่า จรรยาบรรณของวิชาชีพที่กำหนดขึ้น เป็นแบบแผนในการปฏิบัติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตามเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือแก่ผู้รับบริการและสังคมอันจะมาซึ่งเกีย รติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
นำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
ก็คือจะนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่สอนคน ให้สมที่ว่าครูผู้สั่งสอนศิษย์หรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ และจะใช้กับผู้ที่ทำการสอนในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนระดับต่ำกว่าปริญญาเป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว


 
ชื่อนายรุสลัม นามสกุล ดงมูซอ
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5111113123
เกิดเมื่อวันที่ 25 เดือน มีนาคม พ.ศ.2530ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คณะครุศาสตร์ หลักสูตร ภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ห้อง 04ภูมิลำเนา อยู่บ้านเลขที่ 40 หมู่ 2 ต.ปะลุกาสาเมาะ
อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส 96170

กิจกรรมที่5

สิ่งที่ได้รับจากบทความ เรื่อง ต้นแบบแห่งการเรียนรู้
คำว่า “ครูต้นแบบ” คือ ครูที่ประพฤติ ปฏิบัติ ในสิ่งที่ดีงามและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์ได้ ทำให้ลูกศิษย์รู้สึกมีความประทับใจเกี่ยวกับความเป็นครู จากคำกล่าวที่ว่า “การมีความรู้ดีประกอบด้วยหลักวิชาที่ถูกต้อง แน่นแฟ้นและแจ่มแจ้งแก่ใจ  รวมทั้งคุณความดีและความเอื้ออารี ปรารถนาที่จะถ่ายทอดความเผื่อแผ่ ให้ผู้อื่นได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ดีด้วยนั้นก็จะต้องศรัทธาเชื่อมั่นในตัวครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ และทำให้ศิษย์มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องต่อๆไป
การนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง
นั้นก็คือครูจะต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำเอาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้แก่บรรดานิสิตนักศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้ ที่เราเคยได้ยินในวงการศึกษาบ่อยๆนั่นก็คือ “ครูต้นแบบ” ครูต้นแบบนั้นก็คือจะต้องมีความศรัทธา จะต้องมีจิตวิญญาณ จะต้องมีแรงบันดาลใจที่ดี ที่จะค่อยสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์อย่างสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลาเป็นต้น

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่4

สรุปบทความเรื่อง
ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด และการสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของเท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ และก็อย่างมีประเด็นคำถามที่ตามมาอีกด้วยนั้นก็คือ
1. ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นหรือเกิดขึ้นจริง มิใช่เป็นการเห็นหรือเข้าใจตามที่เราต้องการจะเห็นหรือให้มันเป็น
2. ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถใช้ทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กันไปอย่างได้สมดุล
3.ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบจนอาจลืมสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆไป
4. ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจำเป็นของระบบ ของมาตรฐานโดยที่ไม่มองข้ามความงดงามอันเนื่องมาจากความหลากหลาย
เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงสร้างองค์กรที่แบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการ (Process) อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน (Function) เป็นหลัก ทำอย่างไรผู้บริหารถึงจะเข้าใจว่าระบบขององค์กรโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้องค์กรหรือผู้บริหารเป็นผู้กำหนดเป้าหมายไว้ อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จผลได้มากเลยทีเดียว

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

ศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร Internat การสัมภาษณ์
                                                        
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
   

ชื่อจริง:
พรชัย
ชื่อกลาง:
พร
นามสกุล:
ภาพันธ์
 
 
คำสำคัญ:
 
 
อาชีพ:
รับราชการ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา
63(ชุมชนบ้านคำแดง)
ตำบลเดิด อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ตำแหน่ง:
ผู้อำนวยการโรงเรียน
องค์กร/บริษัท:
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง)
ที่อยู่:
หมู่ 17 บ้านคำแดง ตำบลเดิด
อำเภอ:
เมื่อง
จังหวัด:
จังหวัดยโสธร
รหัสไปรษณีย์:
35000
ประเทศ:
ไทย
 
 
ประวัติย่อ:
เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์  2502 ที่ศรีสะเกษ
 แต่ติดตามคุณพ่อไปเติบโตที่ยโสธร
การศึกษา ปริญญาโท การบริหารการศึกษา
จากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
รับราชการ 1 สิงหาคม 2522 
ดำรงตำแหน่งครูใหญ่จากการสอบคัดเลือก
พ.ศ.2531 และ
สอบคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ พ.ศ.2536
ประเมินเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
(ผอ.คุณภาพ)พ.ศ.2544
สิ่งที่ชอบทำยามว่าง เขียนบทความทางวิชาการ
 ประมาณ 20 เรื่อง
ตีพิมพ์วารสารวิชาการ ผลงานล่าสุด
บทความเรื่องศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ



2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
เขียนบทความทางวิชาการ ประมาณ 20 เรื่อง
ตีพิมพ์วารสารวิชาการ ผลงานล่าสุด บทความเรื่องศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
ชอบในประเด็นการเขียนบทความทางวิชาการ เรื่องศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพสิ่งที่ประทับใจในตัวของอาจารย์มากๆก็คือ อาจารย์มีความคิดสร้างสรรค์  จนมีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงการสร้างแบบอย่างให้แก่ศิษย์ให้มีประสิทธิภาพอย่างครูมืออาชีพที่มีความสำเร็จมาแล้ว ส่วนลักษณะส่วนตัวก็มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง  ขยันทำงานจนประสบความสำเร็จ