วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13

The Healthy Classroom : -----------โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์ แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
       ในวันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทำให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่องความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทำลายสิ่งของ

                                                                            


คำตอบที่ข้าพเจ้าได้คิดวิเคราะห์ในประเด็น ดังต่อไปนี้
        
1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
            ตอบ ไม่เหมาะสม เพราะ ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) เนี้ย บางคนก็เรียนหนักมากจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ไม่ออกกำลังกาย ไม่เล่นกีฬา เอาแต่อ่านหนังสือและการเข้านอนก็เป็นสิ่งสำคัญควรจะรักษาเวลาในการเข้านอนหรือนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและอีกอย่างคือการบริโภคก็ควรที่จะควบคุมกินอาหารให้ครบห้าหมู่ทุกวันลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์
        2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม
              ตอบ เด็กไทยและผู้ใหญ่ในปัจจุบันไม่ค่อยสนใจในการออกกำลังกายและไม่ค่อยเล่นกีฬาสักเท่าไรนัก เด็กเรียนเสร็จก็จะไปเทียว ส่วนผู้ใหญ่ก็ทำงานจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย การวานแผนในการออกกำลังในทุกวันก็ไม่ค่อยมีสักเท่าไรนัก และเวลาไปพบแพทย์ แพทย์มักจะถามเรื่องของโรคประจำตัวโดยไม่ถามถึงกีฬาประจำตัวเพราะคนที่มีโรคประจำตัวมักไม่ค่อยออกกำลังกาย ส่วนคนที่ออกกำลังเสมอโรคมักไม่ค่อยมี

        3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
          ตอบ มี แต่ส่วนน้อย ก็เพราะอารมณ์ของเราแต่ละคนไม่สามารถบังคับกันได้ มันเป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขันที่ต้องมีแพ้ ชนะ ส่วนที่แพ้ก็จะปลอบใจตัวเองด้วยการร้องไห้ ส่วนคนที่ชนะก็จะให้กำลังใจตัวเองและอาจจะร้องไห้ออกมาด้วยความยิ่งดี
       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง) 

         ตอบ มีการส่งเสริม จะเห็นจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็จะมีกิจกรรมให้นักเรียนได้เล่นและได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นการส่งเสริมให้เด็กเก่งวิชาการควบคู่กับมีสุขภาวะที่แข็งแรง

       5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด) 

          ตอบ มากในการทำความรู้จักกับนักเรียน แต่ ส่วนน้อยในการจะจำแนกเด็กนักเรียนออกเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติ เพราะครูประจำชั้นไม่ค่อยจะถามในประเด็นนี้สักเท่าไร เช่นประเด็นในเรื่องของสุขภาพและเรื่องการเรียนของเด็กว่าเด็กมีผลการเรียนที่ผ่านมาเป็นเช่นไร เด็กมีปัญหาทางบ้านไหม? นี้เเหละคือสิ่งสำคัญที่ครูในอนาคตต้องทำความเข้าใจกับเด็กให้มาก ควรจะดูแลเอาใจใส่เด็กให้มากกว่านี้และเข้าหานักเรียนเด็กจะได้รู้สึกผูกพันกับครู

       6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)

          ตอบ อาจจะมีแต่ไม่มากนักเพราะโรงเรียนส่วนใหญ่เน้นที่วิชาการ เด็กที่มีกลุ่มเสี่ยงก็จะจัดให้อยู่ในห้องเดียวกัน เพื่อสะดวกในการดูแลปกครองเด็กโดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่ตามมา ทำให้เด็กกลุ่มเสี่ยงมีความรู้สึกว่าตัวที่มีปัญหาอยู่แล้วกลับเพิ่มปัญหาอีก


       7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชาการควบคุมอารมณ์”)
          ตอบ
ควรจะมีการจัดรายวิชาเลือกให้เด็กได้ควบคุมอารมณ์ และให้เด็กได้เลือกรายวิชาที่ตนเองถนัดเด็กจะได้มีความสุขในการเรียนมากขึ้น


       8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
          ตอบ
ส่วนน้อย เพราะปัจจุบันนี้ครูส่วนใหญ่จะเน้นที่วิชาการมากกว่าโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพจิตของเด็กว่าเด็กรู้สึกอย่างไรกับการเรียนที่เน้นแต่วิชาการ

       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
         
ตอบ มีแต่ไม่ทั่วถึงและแบบประเมินรายละเอียดครูควรศึกษาจากพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียนก่อนเลยอันดับแรก

       
        การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting (2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ (Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกาตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
                                                            

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
       การจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์  ดังนั้นผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม  เลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน  และใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย  ทั้งนี้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน  และสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
         การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 
 เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยฯ ในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ครูผู้สอนต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชาก่อน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี
1.จัดทำโครงสร้างรายวิชา
2.กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
3.กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด(ออกแบบการประเมินผล
การเรียนรู้ และกำหนดผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน)
           4.ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนด(โดย
ตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้จาก หลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้
ยกตัวอย่างการออกแบบการจัดการเรียนรู้

         นั่นก็คือแผนการจัดการเรียนรู้นั้นเอง


แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย               รายวิชา 16106 ภาษาไทย 6
ชั้น ประถมศึกษาปีที่6 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2553
เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางด้านการเขียน  เวลา 2 ชั่วโมง
มาตรฐานการเรียนรู้
       เข้าใจความรู้พื้นฐานในด้านการเขียน การใช้ภาษาและมีกระบวนการในการเขียนที่ถูกต้องให้ตรงตามความหมารถ และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ตัวชี้วัด
5.1 ป. 6 อธิบายการเขียนในเรื่องที่ตัวเองเขียน และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
                การเขียนคือการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่านโดยผ่านทางตัวอักษร และนำไปใช้ในอนาคตให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สาระการเรียนรู้(วิเคราะห์จากตัวชี้วัดทั้งหมดของหน่วยฯ)
            ความรู้
1.นักเรียนอธิบายลักษณะของการเขียนได้
2.นักเรียนระบุความคิดรวบยอดเรื่องความรู้พื้นฐานทางด้านการเขียนได้
ทักษะ/กระบวนการ
1.หาลักษณะของการเขียนต่างๆได้
2.นำวิธีการเขียนไปใช้อย่างถูกต้อง
คุณลักษณะ
1.นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเขียน
กิจกรรมการเรียนรู้
1.จับคู่แล้วให้แต่ละคนเขียนสิ่งที่ได้เรียนจากคาบแรกจนถึงคาบสุดท้าย
2.แสดงความคิดเห็นที่ได้จากการเรียนรายวิชาการเขียน แล้วสรุปหาความแตกต่างระหว่างเพื่อนๆในห้อง
3.แลกเปลี่ยนการอ่าน
4.ตรวจสอบภาษาพูด และ ภาษาเขียน
5. นำเสนอ
สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้
1.กระดานดำ
2.สมุดบันทึกการเรียนรู้
3.เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่องการเขียน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการวัด
                สังเกตการณ์ทำงานร่วมกัน
ตรวจแบบฝึกหัด
ตรวจสอบผลงานการเขียน
ส่งงานตรง
ต่อเวลา
เครื่องมือที่ใช้วัด
สมุดบันทึกผลการทำแบบฝึกหัดเรื่องการเขียน
เกณฑ์การประเมิน/ระดับคุณภาพ
ผ่าน/ไม่ผ่าน
       เมื่อครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว ควรให้ผู้เชี่ยวชาญ(ครูสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน)อย่างน้อย 3 คน ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมของหน่วยการจัดการเรียนรู้ที่จะนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยอาจจะใช้แบบประเมิน ดังนี้
แบบประเมินการจัดทำหน่วยการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้................................................ชื่อหน่วยการจัดการเรียนรู้....................................
ชั้น............................เวลา..........................ครูผู้สอน....................................................................
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย üลงในชื่อที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน
4 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด   3 หมายถึง เหมาะสมมาก
2 หมายถึง เหมาะสมน้อย           1 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด
รายการ
ความเหมาะสม
4
3
2
1
1.ชื่อหน่วยฯ กระทัดรัด ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสาระ น่าสนใจ




2.มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดมีความเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม




3.ความสอดคล้องของสาระสำคัญ กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด




4.ความครอบคลุมของสาระสำคัญกับตัวชี้วัดทั้งหมดของหน่วยฯ




5.ความเหมาะสมของจำนวนชั่วโมง




6.ความครบถ้วนของสาระการเรียนรู้กับตัวชี้วัด




7.ความครบถ้วนของทักษะ/กระบวนการกับตัวชี้วัด




8.ความครบถ้วนของคุณลักษณะกับตัวชี้วัด




9.ความเหมาะสมของหลักฐานผลการเรียนรู้กับเป้าหมายของหน่วยฯ




10.กิจกรรมการเรียนรู้ สามารถทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ ครบตามตัวชี้วัดของหน่วยฯ และเน้นสมรรถนะสำคัญที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด




11.ความเหมาะสมของสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้




12.ความเหมาะสมของวิธีการวัด และประเมินผลการเรียนรู้




13.ความเหมาะสมของเครื่องมือวัด และประเมินผลการเรียนรู้




14.ความเหมาะสมของเกณฑ์การวัด และประเมินผลการเรียนรู้




15.หน่วยการเรียนรู้สามารถนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้จริง




รวมคะแนน/สรุปผลการประเมิน




หรือ คะแนนเฉลี่ย