วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
       การจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์  ดังนั้นผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม  เลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน  และใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย  ทั้งนี้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน  และสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
         การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 
 เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยฯ ในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ครูผู้สอนต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชาก่อน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี
1.จัดทำโครงสร้างรายวิชา
2.กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
3.กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด(ออกแบบการประเมินผล
การเรียนรู้ และกำหนดผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน)
           4.ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนด(โดย
ตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้จาก หลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้
ยกตัวอย่างการออกแบบการจัดการเรียนรู้

         นั่นก็คือแผนการจัดการเรียนรู้นั้นเอง


แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย               รายวิชา 16106 ภาษาไทย 6
ชั้น ประถมศึกษาปีที่6 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2553
เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางด้านการเขียน  เวลา 2 ชั่วโมง
มาตรฐานการเรียนรู้
       เข้าใจความรู้พื้นฐานในด้านการเขียน การใช้ภาษาและมีกระบวนการในการเขียนที่ถูกต้องให้ตรงตามความหมารถ และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ตัวชี้วัด
5.1 ป. 6 อธิบายการเขียนในเรื่องที่ตัวเองเขียน และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
                การเขียนคือการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่านโดยผ่านทางตัวอักษร และนำไปใช้ในอนาคตให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สาระการเรียนรู้(วิเคราะห์จากตัวชี้วัดทั้งหมดของหน่วยฯ)
            ความรู้
1.นักเรียนอธิบายลักษณะของการเขียนได้
2.นักเรียนระบุความคิดรวบยอดเรื่องความรู้พื้นฐานทางด้านการเขียนได้
ทักษะ/กระบวนการ
1.หาลักษณะของการเขียนต่างๆได้
2.นำวิธีการเขียนไปใช้อย่างถูกต้อง
คุณลักษณะ
1.นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเขียน
กิจกรรมการเรียนรู้
1.จับคู่แล้วให้แต่ละคนเขียนสิ่งที่ได้เรียนจากคาบแรกจนถึงคาบสุดท้าย
2.แสดงความคิดเห็นที่ได้จากการเรียนรายวิชาการเขียน แล้วสรุปหาความแตกต่างระหว่างเพื่อนๆในห้อง
3.แลกเปลี่ยนการอ่าน
4.ตรวจสอบภาษาพูด และ ภาษาเขียน
5. นำเสนอ
สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้
1.กระดานดำ
2.สมุดบันทึกการเรียนรู้
3.เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่องการเขียน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการวัด
                สังเกตการณ์ทำงานร่วมกัน
ตรวจแบบฝึกหัด
ตรวจสอบผลงานการเขียน
ส่งงานตรง
ต่อเวลา
เครื่องมือที่ใช้วัด
สมุดบันทึกผลการทำแบบฝึกหัดเรื่องการเขียน
เกณฑ์การประเมิน/ระดับคุณภาพ
ผ่าน/ไม่ผ่าน
       เมื่อครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว ควรให้ผู้เชี่ยวชาญ(ครูสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน)อย่างน้อย 3 คน ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมของหน่วยการจัดการเรียนรู้ที่จะนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยอาจจะใช้แบบประเมิน ดังนี้
แบบประเมินการจัดทำหน่วยการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้................................................ชื่อหน่วยการจัดการเรียนรู้....................................
ชั้น............................เวลา..........................ครูผู้สอน....................................................................
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย üลงในชื่อที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน
4 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด   3 หมายถึง เหมาะสมมาก
2 หมายถึง เหมาะสมน้อย           1 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด
รายการ
ความเหมาะสม
4
3
2
1
1.ชื่อหน่วยฯ กระทัดรัด ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสาระ น่าสนใจ




2.มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดมีความเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม




3.ความสอดคล้องของสาระสำคัญ กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด




4.ความครอบคลุมของสาระสำคัญกับตัวชี้วัดทั้งหมดของหน่วยฯ




5.ความเหมาะสมของจำนวนชั่วโมง




6.ความครบถ้วนของสาระการเรียนรู้กับตัวชี้วัด




7.ความครบถ้วนของทักษะ/กระบวนการกับตัวชี้วัด




8.ความครบถ้วนของคุณลักษณะกับตัวชี้วัด




9.ความเหมาะสมของหลักฐานผลการเรียนรู้กับเป้าหมายของหน่วยฯ




10.กิจกรรมการเรียนรู้ สามารถทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ ครบตามตัวชี้วัดของหน่วยฯ และเน้นสมรรถนะสำคัญที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด




11.ความเหมาะสมของสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้




12.ความเหมาะสมของวิธีการวัด และประเมินผลการเรียนรู้




13.ความเหมาะสมของเครื่องมือวัด และประเมินผลการเรียนรู้




14.ความเหมาะสมของเกณฑ์การวัด และประเมินผลการเรียนรู้




15.หน่วยการเรียนรู้สามารถนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้จริง




รวมคะแนน/สรุปผลการประเมิน




หรือ คะแนนเฉลี่ย












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น