วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์
 1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
กรณีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502

คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดยที่ศาลโลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สถานการณ์ที่เขาพระวิหาร ถือว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหว มีคนใช้ประเด็นนี้เพื่อหวังผลทางการเมืองภายใน และภายนอกประเทศ ที่แม้จะมีบางมุมที่ส่งผลดี แต่ทว่าก็สุ่มเสี่ยงต่อความพลาดพลั้งที่จะเกิดขึ้น ประการแรก คือ ชีวิตคนบริสุทธิ์ที่อาจได้รับอันตราย ประการที่สอง คือ การพลาดท่าที่จะทำให้มหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์บริเวณดังกล่าว ที่หากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้การเดินเกมของกัมพูชาในการยึดครองพื้นที่พิพาทบริเวณดังกล่าวง่ายขึ้นนั่นเอง
                จากกรณีดังกล่าวของเขาพระวิหาร จึงเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ทับซ้อนกันแต่ว่าการตัดสินของศาลโลกทำให้เกิดการที่เรียกกันว่าเอาเปรียบกัน และไม่ค่อยยุติธรรมเนื่องมาจากพื้นที่ส่วนนั้นจากการมองดูพื้นที่แบบภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ของไทยแต่จากการที่กัมพูชาอาจมีทางเอาชนะได้หลายรูปแบบศาลโลกจึงตัดสินให้กัมพูชาชนะคดี
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยรู้และตระหนักเรื่องของดินแดนขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้จังหวัดของประเทศเรากลายไปเป็นของคนอื่น นั้นก็คือฝ่ายไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผลประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา(ไทย)ต้องการโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้นเรื่องนี้รัฐบาลจึงต้องดูแลและรักษาดินแดนไว้ซึ่งดินแดนไว้ให้สมบูรณ์ครบถ้วน

3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร

               ในกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาในเรื่องของเขตแดนที่มีความซับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา โดยสืบเนื่องมาจากการที่คนไทยทั้ง7คนถูกจับกุม ในข้อหาลุกล้ำเข้าเมืองแต่ทางประเทศไทยก็มีความเชื่อว่าพื้นที่ตรงส่วนนั้นเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทำให้นำไปสู่ปัญหาการปักปันเขตแดน 
                ซึ่งในกรณีนี้มีความคิดเห็นว่าการที่กัมพูชาจับกุมคนไทยไปก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพราะคิดว่าพื้นที่ส่วนนั้นเป้นของตน  แต่เมื่อมีการออกมาทักท้วงในด้านของดินแดนทางกัมพูชาก็ควรที่จะปล่อยแล้วดำเนินคดีเรื่องของดินแดนก่อน เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย
             สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง 2 ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
         ผมคิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี 43 กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าว กองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
จากการที่เกิดปัญหาในการจับกุมนั้นเป็นเรื่องที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทางกัมพูชาจะใช้อำนาจผิดพลาดไปเพราะดินแดนในส่วนนั้นยังเป็นข้อพิพาทอยู่จึงไม่ควรทำเหมือนกับว่าเป็นของตนเอง  ควรที่จะดำเนินตัดสินเรื่องเขตที่ยังซ้อนทับกันก่อน  และเหตุการณ์นี้ยังสามารถเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่อาจจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ของประเทศ  เพราะทางกัมพูชาล่วงล้ำและบุกรุกเข้ามาเรื่อยๆซึ่งทำให้เห็นว่ารัฐบาลของไทยที่ยังอ่อนอยู่ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านบุกรุกแต่เขากลับชนะแล้วยังได้ดินแดนไปด้วย
ดังนั้น  รัฐบาลไทยควรที่จะหาข้อมูลที่แข็งและเป็นประโยชน์เพื่อที่จะเอาดินแดนของตนเองกลับคืนมาและจะต้องช่วยคนไทยที่ถูกจับกุมไปกลับมาได้อย่างปลอดภัย มิฉะนั้นอีกไม่นานดินแดนประเทศไทยจะถูกรุกรานไปเรื่อยๆ
ทั้งนี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง 7 คนไทยอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลานานถึง 18 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น