วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่7

สรุปการจัดชั้นเรียนที่ดี
ความหมายของการจัดการในชั้นเรียน
          การจัดการชั้นเรียนในความหมายโดยทั่วไปคือ การจัดสภาพของห้องเรียน ที่ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าเป็นการจัดตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุหรือทางกายภาพ ให้มีบรรยากาศ น่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนเท่านั้น ดังนั้นสรุปได้ว่า การจัดการชั้นเรียน เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
ความสำคัญของการจัดชั้นเรียน
          กล่าวคือการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
การจัดการการเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
บรรยากาศการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้แก่นักเรียนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ทั้งกายภาพได้แก่ การตกแต่งห้องเรียน การจัดโต๊ะเรียน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การร่วมกันสร้างกฎกติกาของการเรียนรู้ในชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนให้บรรลุเป้าหมาย
        ครูจะต้องดำเนินงานในสิ่งต่อไปนี้
    1.
การจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆในชั้นเรียน
    2.
การกำหนดลักษณะการเคลื่อนไหวของนักเรียนในชั้นเรียน
    3.
การกำหนดกฎระเบียบในชั้นเรียน
    4.
การเริ่มและการสิ้นสุดการสอนด้วยความราบรื่น
    5.
การจัดการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนกิจกรรมในระหว่างชั่วโมงเรียน
    6.
การจัดการเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของนักเรียน เริ่มจากการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียน และขจัดอุปสรรคหรือสิ่งที่จะรบกวนให้น้อยที่สุด
    7.
การดำเนินงานให้การเรียนรู้เป็นไปในทางที่ครูได้กำหนดหรือวางแผนไว้
    8.
การดำเนินการเพื่อให้นักเรียนพัฒนาตามความต้องการของนักเรียนแต่ละคน
งานในหน้าที่ครูด้านการจัดการเรียนเพื่อสร้างบรรยากาการเรียนรู้ เป็นงานที่ครูมีภารกิจสำคัญพอๆกับการจัดการเรียนรู้
ปัจจัยเงื่อนไขของความสำเร็จในการจัดชั้นเรียน
    1. การจัดที่นั่งของนักเรียนในชั้นเรียนเป็นอย่างไร
    2.
ปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน หรือนักเรียนกับนักเรียนเป็นอย่างไร
    3.
การเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องของสมาชิกในชั้นเรียนจะทำได้ในกรณีใด
    4.
การรับรู้ถึงบรรณยากาศและระเบียบวินัยในภาพรวมเป็นอย่างไร
ลักษณะของการจัดการชั้นเรียนทางกายภาพที่ดี
     - มีการจัดที่นั่งในชั้นเรียนอย่างชัดเจน เพื่อใช้อเนกประสงค์และเพื่อให้นักเรียนมั่นใจในการใช้พื้นที่ว่างของตน ตัวอย่างเช่น บริเวณที่มีการใช้วัสดุร่วมกัน ที่ว่างส่วนตัวจะทำงานโดยลำพัง เช่น โต๊ะแถวของนักเรียนแต่ละคน
     -
ในชั้นเรียนที่มีนักเรียนมีปัญหาทั้งด้านการเรียนและด้านพฤติกรรม อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการแยกออกมาเพื่อให้นักเรียนสะดวก มีสมาธิในการทำงานตามลำพัง
มีทีว่างส่วนตัวของแต่ละคน และมีพื้นที่ส่วนบุคคลของนักเรียนทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ มีที่ว่างสำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ
   -
ลักษณะที่นั่งเป็นแถว เพื่อสะดวกในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาการ
   -
การที่นั่งลักษณะเป็นกลุ่ม จะทำให้นักเรียนมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม
   -
การจัดชั้นเรียนในบริเวณจำกัด และมีการใช้อย่างหนาแน่น ช่น บริเวณที่เหล่าดินสอ ที่วางถังขยะหลังห้อง ตลอดส่วนที่จะทำให้นักเรียนถูกรบกวนโดยง่าย ครูควรจัดให้นักเรียนนั่งห่างออกไป
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดที่นั่งของนักเรียนและครู
   - การจัดที่นั่งของนักเรียน
สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องคำนึงถึง คือ การเลือกรูปแบบการจัดโต๊ะนักเรียนให้เหมาะสมกับวิธีการสอนของครู และการจัดที่ว่างสำหรับการเคลื่อนที่ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม ถ้าชั้นเรียนใดมีผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมด้วยครูควรพิจารณาจัดที่นั่งสำหรับผ้เรียนาเหล่านี้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน เช่น ผู้เรียนทีมีปัญหาสายตา
   -
การจัดที่นั่งสำหรับครู
การจัดโต๊ะและที่นั่งของครูถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดบรรยากาสในชั้นเรียน
กล่าวโดยสรุป การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนการสอนและเกิดความศรัทธาในครูผู้สอน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา โดยปรับบุคลิกภาพความเป็นครูให้เหมาะสมปรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น