วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่1

ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1.นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ การบริหารการศึกษาเป็นกิจกรรมหรือเป็นศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้รับการ    กระทำจนเป็นผลสำเร็จ และเป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารการศึกษา หมายถึง เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้
2.นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์ และ ศิลป์ ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ศาสตร์คือ ระบบวิชาความรู้”คือแนวคิดดีๆ คติประจำใจ ศาสตร์สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านทางตำราคำพูด ส่วนศิลป์ ในที่นี้หมายถึง การลงมือปฏิบัติ ลงมือทำด้วยความชำนาญ ศาสตร์ และ ศิลป์ เป็นเรื่องของหัวคิดสมองความก้าวหน้า การไม่ยึดติด เช่น ศิลปะทางด้านการวาดภาพ การร่ายรำ เป็นต้น
3.นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อๆพอสังเขป
ตอบ วิวัฒนาการของการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษามี 4ยุค คือยุคที่ 1วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ ยุคที่ 2วิวัฒนาการของการบริหารยุคClassical เป็นยุคการบริหารที่มีหลักเกณฑ์อยู่ระหว่างปี ค..1880-1930 ยุคที่ 3วิวัฒนาการของการบริหาร ยุคมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation) เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค..1974 มาจนถึง ค..1950พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayoเป็นบุคคลแรกที่มาให้แนวความคิดทางการบริหาร เปลี่ยนแปลงไปมนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริงและจะเน้นการจูงใจ ยุคที่4ยุคBehavioral Organization หรือ ยุคพฤติกรรมศาสตร์เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่2เริ่มปี1958-ปัจจุบัน(10ปีหลังสงครามโลกครั้งที่2)เป็นการผนวกความสำคัญของคนกับระบบเข้าด้วยกันคือเป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์ เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (ChesterIBarnard)ชาวอเมริกาซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์เชื่อว่าองค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ บาร์นาร์ดชื่อว่าการโน้มน้าวใจมี2ลักษณะเฉพาะเจาะจงคือเรื่องของแรงจูงใจด้านวัตถุ และ ลักษณะทั่วไป
4.ทฤษฎีอธิบายมนุษย์สัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฎีการเสริมแรงของ สกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย3ประการได้แก่มนุษย์จะพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงาน­องตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสม นั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือการให้รางวัลจากการสามารถจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง3ประการได้แก่ Id Ego และSuperego
5.นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ ทฤษฎีมาสโลว์ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์(Maslow-Hierarchy Of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ-นับถือ และประการสุดท้ายคือการบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากกการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองความลำดับขั้นๆ
ทฤษฎีภาวะผู้นำ สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่าการเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูลหรือบุคคลและสืบชื้อสายกันได้บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย
ทฤษฎีX (The Traditional view Of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดจากพื้นฐานของคนไม่อยากทำงาน หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบและคนมักโง่ หลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้คือการบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงินวัตถุเป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสิ่งการ เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด


ทฤษฎีY (The Integration Of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีนี้เกิดจากพื้นฐานของคนมองโลกในแง่ดี มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มที่ เต็มใจกับการทำงานมีการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน มีความคิดสร้างสรรค์และคนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน พัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอมีความคิดริเริ่มในการทำงานถ้าได้รับการจูงใจในการปฏิบัติงาน ส่วนผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้นต้องให้เกียรติซึ้งกันและกัน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น