การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด และวิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบ กับ โครงงานแตกต่างกันอย่างไร
แผนที่ความคิด (Mind mapping)
เป็นการนำเสนอทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และการใช้ (Mind mapping) ก็จะช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ และไม่ขาดหายไป
วิธีการเขียนแผนที่ความคิด
แผนที่ความคิด พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ เป็นต้น
แผนที่ความคิดใช้ได้กับอะไรบ้าง
แผนที่ความคิด (Mind Mapping) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ
วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
เทคนิคการคิดแบบ six thinking hats จะเป็นการรวมความคิดด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน ทำให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
ส่วนวิธีการสอนแบบโครงงาน
ส่วนวิธีการสอนแบบโครงงาน
เป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา
สรุปได้ว่า
วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือแบบหมวก6ใบนั้นเป็นสอนการคิดอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนในการคิดอย่างสร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
ส่วนวิธีการสอนแบบโครงงานหรือโครงการนั้นสามารถสอนให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษาเป็นต้น
ส่วนวิธีการสอนแบบโครงงานหรือโครงการนั้นสามารถสอนให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษาเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น